ภาวะเศรษฐกิจโลกและเศรษฐกิจไทยที่กำลังซื้อของผู้บริโภคยังอ่อนแอจากปัญหาโควิด-19 ส่งผลกระทบต่อภาคธุรกิจเป็นวงกว้าง แต่ธุรกิจอาหารกลับเป็นดาวเด่นที่ยังสามารถเติบโตได้ในช่วงวิกฤติ อย่างไรก็ตาม คงไม่ใช่ธุรกิจอาหารทุกกลุ่มที่จะเติบโตได้ดี บทความนี้จะชี้ให้เห็นว่าปัจจัยอะไรที่เป็นแรงผลักดันให้ธุรกิจอาหารไทยยังเติบโตในยุควิกฤตโควิด-19? และปัจจัยดังกล่าวจะเป็นโอกาสของธุรกิจอาหารกลุ่มไหนบ้าง?
ศูนย์วิจัย Krungthai COMPASS มองว่ามี 5 ปัจจัยสาคัญที่จะเป็นแรงผลักดันให้ธุรกิจอาหารไทยยังเติบโตได้ในยุควิกฤตโควิด-19 ได้แก่
ปัจจัยแรก ปัญหาโรคระบาดในสัตว์
โดยเฉพาะโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกร (ASF) ที่ปัจจุบันยังระบาดรุนแรงในหลายประเทศ โดยเฉพาะประเทศใกล้ไทย เช่น จีน และเวียดนาม โดยในปี 2561-2562 ที่ผ่านมา จีนกำจัดสุกรไปแล้วกว่า 1.1 ล้านตัว ขณะที่เวียดนามกำจัดไปถึงเกือบ 3 ล้านตัว ส่งผลให้ราคาเนื้อสุกรในจีนและเวียดนามพุ่งสูงขึ้น ขณะที่ปัจจุบันยังไม่พบการระบาดของโรคดังกล่าวในไทย จึงเป็นโอกาสของธุรกิจส่งออกอาหารในกลุ่มการผลิตสินค้าปศุสัตว์ซึ่งเป็นสินค้าจาเป็นในการบริโภค เช่น ไก่และสุกร โดยเฉพาะตลาดจีน ซึ่งเป็นคู่ค้าสาคัญของไทยในการส่งออกไก่สดแช่เย็นแช่แข็งและแปรรูป รองจาก ญี่ปุ่น สหภาพยุโรป เพื่อทดแทนสุกรจากปัญหาโรค ASFASFที่ระบาดต่อเนื่อง และล่าสุดเวียดนามก็อนุญาตให้นำเข้าสุกรจากไทยตั้งแต่วันที่ 12 มิถุนายน 2563 เนื่องจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 รวมทั้งแก้ปัญหาการขาดแคลนเนื้อสุกรและราคาเนื้อสุกรที่ปรับตัวสูงขึ้นต่อเนื่อง ส่งผลดีต่อการขยายตลาดส่งออกสุกรเพิ่มขึ้นจากเดิมที่มีการส่งออกไปยังกัมพูชา ลาว และเมียนมา
ปัจจัยที่สอง พฤติกรรมผู้บริโภคในยุคโควิด-19 ที่ใส่ใจสุขภาพมากขึ้นและให้ความสำคัญกับคุณค่าและประโยชน์ของสารอาหาร
จะเป็นโอกาสของธุรกิจอาหารในกลุ่ม Organic Foods ( ผลิตภัณฑ์อาหารที่ทำจากผลผลิตทางการเกษตรที่ไม่ใช้สารพิษ ยาฆ่าแมลง และสารเคมี) และกลุ่ม Functional Foods ( ผลิตภัณฑ์อาหารที่ทำหน้าที่เฉพาะเจาะจงในการส่งเสริมสุขภาพด้านต่าง ๆ เพิ่มเติมจากคุณประโยชน์ทางโภชนาการของอาหารทั่วไป) โดยเฉพาะอาหารในกลุ่มที่เสริมภูมิคุ้มกันให้ร่างกาย และกลุ่มที่ช่วยย่อยอาหารและระบบขับถ่าย ทั้งนี้ Euromonitor ประเมินว่าธุรกิจ Functional Foods ในไทยมีขนาดตลาดประมาณ 68,000 ล้านบาท โดยในปี 2563-2564 คาดว่าจะเพิ่มขึ้น 3% และ 5% ตามลำดับ ส่วนธุรกิจ Organic Foods มีขนาดตลาดประมาณ 560 ล้านบาท โดยคาดว่าจะเพิ่มขึ้น 6% และ 12% ในปี 2563 -2564 ตามลำดับ
ปัจจัยที่สาม ความกังวลการระบาดของโควิด-19 ในประเทศ
ทำให้ประชาชนต้องกักตัวอยู่บ้าน ส่งผลให้ผู้บริโภคส่วนใหญ่หันมาประกอบอาหารรับประทานเองที่บ้านมากขึ้น อีกทั้งพฤติกรรมผู้บริโภคยุคใหม่ที่เน้นเรื่องความสะดวกรวดเร็ว จึงเป็นโอกาสของผู้ประกอบการในกลุ่มเครื่องปรุงรสสำเร็จรูป นอกจากนี้ การเติบโตของธุรกิจ Food Delivery จะเป็นปัจจัยเสริมให้ธุรกิจเครื่องปรุงรสเติบโตมากขึ้น เช่นเดียวกับการส่งออกเครื่องปรุงรสของไทยซึ่งคาดว่าในปีนี้จะเติบโตต่อเนื่อง จากความกังวลในหลายประเทศที่อาจต้องกลับมาใช้มาตรการ Lockdown อีกครั้ง โดยในช่วง 5 เดือนแรกของปี 2563 มูลค่าการส่งออกเครื่องปรุงรสของไทยเติบโต 6% YoY และเติบโตได้ดีในทุกตลาดสาคัญไม่ว่าจะเป็นอาเซียน (+11%YoY) ญี่ปุ่น (+11%YoY) และสหรัฐฯ (+9%YoY)
ปัจจัยที่สี่ การระบาดของโควิด-19 ทาให้ผู้บริโภคมีความกังวลด้านสุขภาพมากขึ้น
อีกทั้งความกังวลจากการติดต่อของเชื้อโรคจากสัตว์สู่คน ซึ่งจะเป็นปัจจัยเร่งการเติบโตของธุรกิจอาหารโปรตีนจากพืช (Plant Based Food) โดยจากการสำรวจของ The Beet ซึ่งเป็นเว็บไซต์ที่ให้ข้อมูลเกี่ยวกับอาหารสุขภาพ พบว่า มีผู้บริโภคในสหรัฐฯ ถึง 23% เลือกที่จะบริโภคอาหารโปรตีนจากพืชมากขึ้นในช่วงการระบาดของโควิด-19 แต่มีผู้บริโภคเพียง 12% ที่เลือกที่จะบริโภคโปรตีนจากเนื้อสัตว์เพิ่มขึ้น นอกจากนี้ รายงานล่าสุดจากทางการจีนที่ตรวจพบไข้หวัดใหญ่ G 4 EAH 1 N 1 ซึ่งเป็นสายพันธุ์ที่พบในสุกรของจีน และอ้างว่าโรคดังกล่าวอาจติดต่อสู่คนได้ แม้ภายหลังจากมีรายงานว่ายังเป็นเพียงผลการวิจัยในห้องปฎิบัติการ จะยิ่งเป็นปัจจัยหนุนการบริโภคอาหารโปรตีนจากพืชเพิ่มขึ้น
ปัจจัยที่ห้า ภาครัฐยังคงสนับสนุนอุตสาหกรรมอาหารและวางบทบาทให้ไทยเป็นครัวของโลก (Kitchen of the World)
จึงทำให้ผู้ประกอบการได้รับประโยชน์จากการสนับสนุนของภาครัฐผ่านมาตรการต่างๆ เพื่อผลักดันให้ GDPGDPอุตสาหกรรมอาหารของไทยบรรลุตามเป้าหมายที่ 1.35 ล้านล้านบาท ภายในปี 2569 เช่น การส่งเสริมให้อาหารไทยเป็นที่รู้จักในต่างประเทศ การสนับสนุนการวิจัยและพัฒนานวัตกรรมให้กับผู้ประกอบการโดยร่วมกับหน่วยวิจัยจากภาครัฐหรือสถาบันการศึกษา นอกจากนี้ อุตสาหกรรมอาหารยังเป็นอุตสาหกรรมเป้าหมายในกลุ่ม S Curve โดยเฉพาะอาหารแห่งอนาคต เช่น อาหารสุขภาพ อาหารทางการแพทย์ ทำให้ได้รับประโยชน์จากการส่งเสริมการลงทุนของภาครัฐอีกด้วย
ท้ายที่สุดแม้โควิด-19 จะเป็นโอกาสสำหรับธุรกิจอาหารในหลากหลายกลุ่ม แต่เป็นที่แน่นอนว่าในอนาคตจะมีผลิตภัณฑ์อาหารใหม่ ๆ ออกสู่ตลาดอย่างต่อเนื่อง เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว รวมทั้งคู่แข่งรายใหม่ที่เข้าสู่ตลาดอย่างต่อเนื่องเช่นกัน ดังนั้น ผู้ประกอบการจึงต้องให้ความสำคัญกับการพัฒนาผลิตภัณฑ์ และเร่งนำเทคโนโลยีมาใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิต รวมทั้งตระหนักอยู่เสมอว่าผู้ที่ตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงได้อย่างรวดเร็วจะเป็นผู้นำในตลาดนี้ได้อย่างยั่งยืน
อัพเดทวันที่ 23 ก.ค. 2563
โดย อภินันทร์ สู่ประเสริฐ, นักวิเคราะห์ Krungthai Compass
บทความนี้เผยแพร่ในหนังสือพิมพ์ Business Today ฉบับวันที่ 23 กรกฎาคม 2563