หน้าหลัก
ผลิตภัณฑ์และบริการ
โปรโมชั่น
ความรู้เกี่ยวกับธุรกิจ
SME Focus Magazine
งานสัมมนา
โครงการอบรม
คำนวณสินเชื่อเบื้องต้น
ค้นหาจุดบริการ
อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ

FOLLOW US Krungthai SME​


สนใจรับวิจัยธุรกิจและความรู้กรุงไทย SME ทางอีเมล์
Krungthai SME

ขั้นตอนการทำ Branding แบบฉบับเข้าใจง่าย

 

สำหรับคนทำธุรกิจ ไม่ว่ารายเล็กหรือรายใหญ่ จะเป็น SME หรือ Global Brand การทำ Branding นับว่าเป็นอีกหนึ่งกระบวนการสำคัญ และนับว่าเป็นกระบวนการที่หลายฝ่ายหยิบยกมาพูดถึงอยู่บ่อยครั้ง ก่อนจะไปถึงเนื้อหา เรามาทำความเข้าใจกันก่อนว่า Branding นั้นคืออะไรกันแน่?

Branding ก็เป็นดั่งการ รู้จุดยืน รู้บุคลิก รู้ภาพลักษณ์ และรู้จักความเป็นตัวตนของแบรนด์นั่นเอง เพราะฉะนั้นการทำ Branding ก็เป็นเหมือนการสื่อสารคุณค่า และภาพลักษณ์ของแบรนด์ออกไปให้ผู้คนได้รับรู้

ภาพลักษณ์ บุคลิกและความเป็นตัวตนของแบรนด์ ไม่ว่าจะเป็นการสื่อสารผ่านโฆษณา การใช้คำพูด การใช้    โลโก้ การใช้สื่อออนไลน์ ก็นับว่าเป็นการสร้าง Branding ทั้งสิ้น

เอาเป็นว่าลองพัฒนาแนวคิดไล่เรียงกันตามแต่ละข้อก็ได้ครับ เพื่อที่จะง่ายต่อความเข้าใจและง่ายต่อการ พัฒนาแบรนด์อย่างเป็นระบบ

เรามาดูกันดีกว่าว่า ขั้นตอนการทำ Branding แบบฉบับเข้าใจง่าย นั้นเป็นอย่างไรกันบ้าง

1. BRAND? MISSION กำหนดพันธกิจ

คำว่า พันธกิจ อาจจะฟังดูยากหรือไกลตัวไปสักหน่อย แต่เอาจริงๆ แล้วในช่วงการก่อร่างสร้างตัว     เป็นสิ่งสำคัญมากที่เราต้องรู้ว่า “ธุรกิจของเราเกิดขึ้นมาเพื่ออะไร” เพราะถ้าเรามีแก่นที่มั่นคงแล้ว การเติบโตไป ก็จะมีทิศทางที่ชัดเจนและตรงโจทย์ในสิ่งที่เราอยากจะเป็นจริงๆ

ไม่จำเป็นต้องเป็นข้อเดียว (เพราะอาจไม่ครอบคลุมพอ) อาจจะเป็นประโยคประมาณ 3-5 ประโยคพูดถึง   ในสิ่งที่แบรนด์อยากจะบรรลุเพื่อสังคมและเพื่อกลุ่มลูกค้า อะไรที่เป็นแรงบันดาลให้ก่อตั้งธุรกิจ หรือธุรกิจตั้งใจจะทำอะไร

ตัวอย่าง :

  • UNICEF : เพื่อรักษาความสงบสุขและความปลอดของโลก
  • GMM GRAMMY : สร้างคุณค่า เพิ่มมูลค่าให้กับทุกธุรกิจและสังคม
  • MK : ส่งมอบสุขภาพที่ดีและเติมเต็มความสุขให้กับลูกค้า ด้วยอาหารที่มีคุณภาพและความอร่อย    พร้อมทั้งให้บริการอันเป็นเลิศ ในราคาที่เหมาะสม
  • WORKPOINT : ผลิตผลงานด้วยความรับผิดชอบต่อสังคม

2. รู้จักลูกค้า ออกแบบกลุ่มเป้าหมาย

คงไม่มีอะไรดีกว่าการรู้จักลูกค้า หรือคนที่เราต้องการจะสื่อสารด้วยใช่ไหมล่ะ?

อย่างลองสำรวจหรือวิเคราะห์ดูว่า กลุ่มลูกค้าจะอายุเท่าไหร่ อาศัยอยู่ไหน มีวิถีชีวิตอย่างไร แล้วก็มาดูต่อว่ากลุ่มไหนที่เราควรเน้นเป็นหลักหรือเน้นเป็นเป้าหมายรอง หากเรารู้จักกลุ่มเป้าหมายแล้ว มันก็เหมือนเป็นการสร้างทิศทางให้กระบวนการถัดๆ ไป มันจะช่วยบอกถึงการกำหนดจุดยืนของแบรนด์ สิ่งที่เราเลือกจะนำเสนอ ข้อความที่เราอยากจะใช้ก็จะเป็นอะไรที่ตรงโจทย์มากยิ่งขึ้น

หรืออาจจะเป็นการนำ STP (Segmentation Targeting และ Positioning) กลยุทธ์ในการเลือกกลุ่มเป้าหมายมาประยุกต์ใช้ก็ได้

3. สร้างสิ่งที่ทำให้แตกต่างจากคู่แข่ง

บางวงการคู่แข่งก็เยอะ บางวงการคู่แข่งก็น้อย แต่มันดีจะกว่าไหม ถ้าเราสามารถสร้างสรรค์อะไร         ที่แตกต่างจากธุรกิจคู่แข่ง นับเป็นสิ่งสำคัญที่เราต้องตอบจุดนี้ได้ ไม่ว่าจะเป็นการทำงาน สินค้า หรือแม้กระทั่งแนวคิด เพราะถ้าเราแตกต่างกว่า เราก็จะถูกจดจำได้ดีและจดจำได้ง่ายกว่านั้นเอง

4. Brand Personality ออกแบบบุคลิกของแบรนด์

บุคลิกภาพของการสื่อสารนั้นมักจะเชื่อมโยงกับจุดเด่นของสินค้าหรือบริการ แนวคิดขององค์กร ตัวตนของกลุ่มเป้าหมาย ถ้าแบรนด์เป็นคนหนึ่งคน เขาจะเป็นคนแบบไหน สนุกสนาน หรือซีเรียส ชอบใช้ชีวิตหรือชอบการพักผ่อน ถึกทนหรือชอบความหรูหรา เป็นต้น

หลักๆ แล้ว เราสามารถแบ่งได้เป็น 5 บุคลิกภาพ

  • Excitement - ตื่นเต้น สนุกสนาน มั่นใจ ท้าทาย ตื่นตัว เน้นกลุ่มคนรุ่นใหม่ที่อยากออกไปใช้ชีวิต (Pepsi, Honda, Sprite)
  • Sincerity - ห่วงใย จริงใจ ซื่อสัตย์ อาทิ ธุรกิจบริการและประกันภัย (ไทยประกันชีวิต)
  • Sophistication - ซับซ้อน หรูหรา เลอค่า อาทิ เครื่องสำอางค์หรือแบรนด์เนม(Mercedes, L’Oreal)
  • Competence  - ฉลาด เหนือชั้น ก้าวล้ำ อาทิ สินค้าไอที หรือสมาร์ทโฟน  (Apple, Microsoft)
  • Ruggedness - ทนทาน ถึกบึกบึน ห้าวหาญ อาทิ สิ่งปลูกสร้าง เครื่องจักรกล (Ford, Wrangler, Reebox)

สามารถนำไปใช้และประยุกต์ในแบบฉบับของคุณได้ทันที!

5. ศึกษาออกแบบโลโก้

สำหรับคนทำธุรกิจหลายท่าน หรือผู้ประกอบการเอง อาจจะไม่ได้มีความรู้เรื่องการออกแบบ การใช้สี การดีไซน์มากนัก และการทำ Branding ก็คงไม่พ้นการเลือกใช้โลโก้ การเลือกใช้สี การเลือกใช้เส้นใช่ไหมล่ะ แต่อย่าเพิ่งกังวลไป โลกออนไลน์มีตัวอย่างมากมายรอคอยคุณอยู่ ลองเข้าไปเลือกสรร เลือกดูแบบที่ใช่กับ      แบรนด์ จากในเว็ปไซต์อย่าง pinterest.com ก็ได้ เลือกมาจำนวนหนึ่งที่ถูกใจ

ที่สำคัญโลโก้ควรสื่อสารที่ความเป็นแบรนด์อย่างชัดเจน และควรเป็นโลโก้ที่ทำให้คนจำได้อีกด้วย ลองนึกภาพอย่าง SUPREME ก็ได้ ไม่ว่าสินค้าจะเป็นอะไร จะดีหรือจะแปลกขนาดไหน หากมีโลโก้ SUPREME ไปแปะก็สามารถเพิ่มมูลค่า สิบเท่า ร้อยเท่าเลยทีเดียว

ส่วนการออกแบบโลโก้ ก็เป็นไปได้ทั้งรูปภาพ ตัวอักษร หรือการผสมคำ (บริษัทใหญ่ในเอเชียมักจะนิยมใช้ชื่อแบรนด์มาทำเป็นโลโก้เลย อาทิ SAMSUNG, TENCENT) แต่ถ้าหากใครไม่มีความรู้ด้านนี้ อย่างที่เราแนะนำไปข้างต้นลองศึกษาตัวอย่างให้มากๆ เลือกตัวอย่างที่เราชอบ แล้วให้คนทำนำไปพัฒนาให้เป็นแบบฉบับของแบรนด์เราก็ย่อมได้

โลโก้ที่ดีควรสื่อให้ผู้บริโภคเข้าใจและจดจำให้ได้ว่าแบรนด์จะทำอะไร มีจุดเด่นแบบไหน

6. งานดีไซน์

งานดีไซน์จะเป็นสิ่งที่สะท้อนตัวตนของแบรนด์ได้อย่างเป็นรูปธรรมและจับต้องได้ พร้อมยกระดับความเป็นแบรนด์ของคุณให้ดูมีมาตรฐานและดูดีมากยิ่งขึ้นอีกด้วย ไม่ว่าจะเป็นการออกแบบโลโก้ บรรจุภัณฑ์ หรือแม้กระทั่งการตกแต่งร้าน

หากเป็นร้านอาหารจะเห็นภาพชัดเจนขึ้น ไม่ว่าจะเป็นยูนิฟอร์ม ภาชนะ รูปแบบการให้บริการ          การตกแต่งสภาพแวดล้อมภายในร้านให้สอดคล้องกับคาแรกเตอร์ที่วางไว้ อาจจะเรียบร้อย สะอาดสะอ้าน หรูหรา คลาสสิคมีสไตล์ หรือจะเป็นแบบบ้านๆ ก็ไม่ได้มีผิดถูกอะไร ขึ้นอยู่กับตัวตนที่เราวางไว้ และความรู้สึกที่อยากให้ลูกค้าได้รับนั่นเอง

และนี่ก็เป็นข้อมูลคร่าวๆ ของการทำ Branding ขอย้ำเลยนะครับว่า การทำธุรกิจอาจไม่ใช่เป็นเพียงการขายของ การพัฒนาสินค้าหรือบริการเพียงอย่างเดียว ไม่ว่าของคุณดีแค่ไหน แต่ถ้าหากไม่มีใครรู้จักหรือจำได้มันจะขายออกได้อย่างไรล่ะ การทำ Branding และ Marketing อาจจะดูเป็นสิ่งเข้าใจยาก แต่มันไม่ได้ยากและน่าศึกษากว่าที่คิด

ติดตามความรู้เกี่ยวกับการทำธุรกิจ SMEs อื่นๆ และข้อมูลผลิตภัณฑ์สินเชื่อธุรกิจ SMEs  ได้ที่ Facebook Fanpage Krungthai SME หรือ ทาง Website https://sme.ktb.co.th/