หน้าหลัก
ผลิตภัณฑ์และบริการ
โปรโมชั่น
ความรู้เกี่ยวกับธุรกิจ
SME Focus Magazine
งานสัมมนา
โครงการอบรม
คำนวณสินเชื่อเบื้องต้น
ค้นหาจุดบริการ
อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ

FOLLOW US Krungthai SME​


สนใจรับวิจัยธุรกิจและความรู้กรุงไทย SME ทางอีเมล์
Krungthai SME

สังคมสูงอายุ ภาระมาพร้อมโอกาส

 

ปัจจุบันจำนวนผู้สูงอายุในประเทศไทยมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง มีการประมาณการว่า ในปี พ.ศ. 2565 สัดส่วนนี้จะเพิ่มเป็น 20.5% ของประชากรทั้งประเทศ นั้นหมายความว่าไทยนั้นจะเป็นสังคมผู้สูงอายุอย่างเต็มตัว และในปี พ.ศ . 2579 จะเป็นจะเป็นสังคมสูงอายุระดับสุดยอด หรือมีสัดส่วนเพิ่มขึ้น 30.2% ตามรอยประเทศญี่ปุ่น ภาวะดังกล่าวเป็นสิ่งที่ประเทศไทยไม่อาจหลีกเลี่ยงได้แน่นอน จึงควรศึกษาเตรียมความพร้อม ปรับมุมมอง และวิเคราะห์โอกาสในวิกฤตนี้

โครงสร้างประชากรเปลี่ยน นำมาซึ่งสังคมสูงอายุ

จำนวนประชากร (อายุ 0-14ปี) และประชากรในวัยแรงงาน (อายุ 15-59 ปี) มีแนวโน้มลดลงต่อเนื่อง ขณะที่ประชากรวัยสูงอายุ (อายุ 60 ปีขึ้นไป) มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ส่วนหนึ่งประชากรมีอายุสูงขึ้น จากความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีทางการแพทย์ ทำให้อัตราการตายน้อยลง โดยมีการประมาณการอายุคาดหมายคงชีพโดยเฉลี่ยเมื่อแรกเกิด (Lift Expectancy at Birth) ปี พ.ศ. 2553-2558 ของชายและหญิง อยู่ที่ 70.97 และ 77.67 ปี และจะเพิ่มขึ้นเป็น 79.69 และ 84.16 ปี ในปี 2598-2603 ตามลำดับ อีกส่วนหนึ่งเกิดจากอัตราการเกิดลดลง จากการที่อัตราการเจริญพันธุ์รวม (Total Fertility Rate) มีแนวโน้มลดลง โดยในปี พ.ศ. 2568-2573 ผู้หญิง 1 คนจะมีบุตรเพียงแค่ 1 คน จากที่มี 6 คน ในปี พ.ศ. 2503-2508 และต้องยอมรับว่าสภาพสังคมการใช้ชีวิตของคนหนุ่มสาวรุ่นใหม่ที่มีความสำคัญกับตนเองทั้งความสำเร็จในหน้าที่การงาน การใช้ชีวิตอย่างอิสระ มากกว่าการสร้างครอบครัวมีส่วนให้การเกิดลดลง

โอกาสทางธุรกิจ แต่สินค้าและบริการต้องเจาะจง

นอกจากจำนวนคนสูงอายุจะเพิ่มขึ้นมากแล้ว มีการศึกษาพบว่า พฤติกรรมการบริโภคของผู้สูงอายุในปัจจุบันเปลี่ยนไปจากเดิมมาก โดยผู้สูงอายุไทยกว่าร้อยละ 60 มักจะออกไปทำกิจกรรมนอกบ้านอย่างน้อยสัปดาห์ละครั้ง และกิจกรรมหลักคือการออกไปช้อปปิ้ง รองลงมาคือ การไปพบปะสังสรรค์กับเพื่อน มีการใส่ใจดูแลสุขภาพมากขึ้น ต้องการสิ่งอำนวยความสะดวกในชีวิตประจำวัน ยินดีที่จะจ่ายเงินหากไดัสินค้าและบริการที่ออกแบบมาเพื่อผู้สูงอายุโดยเฉพาะ และยอมรับเทคโนโลยีใหม่ๆ มากขึ้น เปลี่ยนไปจากอดีตทีผู้สูงอายุส่วนใหญ่มักชอบอยู่บัาน เข้าสังคมน้อย ไม่ค่อยใช้จ่าย ห่างไกลเทคโนโลยี ดังนั้น จึงเป็นโอกาสทางธุรกิจสำหรับผู้ประกอบการที่จะปรับกลยุทธ์ด้านสินค้าและบริการให้ตอบสนองต่อความต้องการของผู้บริโภคกลุ่มนี้อย่างเฉพาะเจาะจงมากขึ้น เช่น สินค้าประเภทอาหารสุขภาพทึมีคุณค่าทางโภชนาการและเหมาะกับโรคภัยไข้เจ็บบางประเภท สินค้าที่ช่วยให้ผุ้สูงอายุมีความเป็นอยู่ที่สะดวกสะบาย รถเข็นไฟฟ้า ไม้เท้า อุปกรณ์จีพีเอส โทรศัพท์และอุปกรณ์อิเลกทรอนิกส์ที่เชี่อมกับหน่วยฉุกเฉินหรือโรงพยาบาล เป็นต้น เนื่องจากผู้สูงอายุส่วนผู้ใหญ่มีแนวโน้มอาศัยอยู่คนเดียวมากขึ้น โดยกว่าร้อยละ 80 ของผู้สูงอายุให้ความสำคัญกับการปรับปรุงที่อยู่อาศัยเพื่ออำนวยความสะดวกหลังเกษียณ

ที่มา : นิตยสาร Think Trade Think DITP ชี้ช่องการค้า

อัพเดทเมื่อ 08/06/2560