หน้าหลัก
ผลิตภัณฑ์และบริการ
โปรโมชั่น
ความรู้เกี่ยวกับธุรกิจ
SME Focus Magazine
งานสัมมนา
โครงการอบรม
คำนวณสินเชื่อเบื้องต้น
ค้นหาจุดบริการ
อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ

FOLLOW US Krungthai SME​


สนใจรับวิจัยธุรกิจและความรู้กรุงไทย SME ทางอีเมล์
Krungthai SME

เจาะลึกการทำการตลาดออนไลน์ใน CLMV

 

ตลาด CLMV (กัมพูชา ลาว พม่า เวียดนาม) เปลี่ยนไปมากจากเมื่อ 10 ปีก่อน ไม่เพียงเศรษฐกิจที่ขยายตัวอย่างรวดเร็วกว่า 5-7% ต่อเนื่องทุกปีซึ่งถือเป็นอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจที่สูงสุดต่อเนื่องติดต่อกันหลายปี ปัจจัยหลักที่ช่วยให้ภูมิภาคนี้เติบโตอย่างรวดเร็วคือ การมีทรัพยากรธรรมชาติที่สมบูรณ์ (พม่า) มีแรงงานราคาถูกและต้นทุนในการผลิตต่ำกว่าประเทศที่พัฒนาไปก่อนแล้วในภูมิภาคเช่นไทยหรือมาเลเซีย ทำให้เม็ดเงินการลงทุนจากชาติมหาอำนาจไหลเข้าสู่ตลาด CLMV อย่างต่อเนื่อง และมีแนวโน้มเช่นนี้ไปอีกหลายปี

นอกจากการเปลี่ยนประเทศเป็นฐานการผลิตที่สำคัญแล้ว CLMV ยังพัฒนาตัวเองเป็นศูนย์กลางการค้าที่สำคัญด้วย รูปแบบการค้าในภูมิภาคนี้กำลังเปลี่ยนจากการค้าแบบดั้งเดิม (Traditional Trade) เข้าสู่การค้าปลีกสมัยใหม่ มีศูนย์การค้า มีร้านสะดวกซื้อ มีทีวีช้อปปิ้ง และที่สำคัญคือมี Online Shopping เป็นอีกหนึ่งช่องทางที่มีอัตราการเติบโตสูงมาก

พฤติกรรมการใช้อินเตอร์เน็ตเติบโตต่อเนื่อง

ข้อมูลจาก Hootsuite We Are Social report 2017 รายงานอัตราการเข้าถึงอินเตอร์เน็ตและพฤติกรรมการใช้งานโทรศัพท์มือถือของประชากรในเขต CLMV ไว้ดังนี้

กัมพูชา : ประชากรรวม 15.96 ล้านคน  มีหมายเลขโทรศัพท์มือถือใช้งานอยู่ทั้งหมด 27.6 ล้านเลขหมาย (173% ของจำนวนประชากร)  มี 7.16 ล้านคน) ที่เข้าถึงอินเตอร์เน็ตได้(+45% จากปีก่อน มีผู้ใช้ social media 4.9 ล้านคน (+53%) โดย 4.7 ล้านคน (+44%) ใช้ผ่านโทรศัพท์มือถือ โดยมีส่วนน้อยมากที่ใช้งานผ่านเครื่องคอมพิวเตอร์

ลาว : ประชากรรวม 6.98 ล้านคน  มีหมายเลขโทรศัพท์มือถือใช้งานอยู่ทั้งหมด 5.95 ล้านเลขหมาย (85% ของจำนวนประชากร)  มี 1.8 ล้านคน ที่เข้าถึงอินเตอร์เน็ตได้(+88% จากปีก่อน)  มีผู้ใช้ social media 1.8 ล้านคน (+81%) โดย 1.5 ล้านคน (+81%) ใช้ผ่านโทรศัพท์มือถือ

พม่า : ประชากรรวม 54.6 ล้านคน  มีหมายเลขโทรศัพท์มือถือใช้งานอยู่ทั้งหมด 50.56 ล้านเลขหมาย (93% ของจำนวนประชากร)  มี 14 ล้านคน ที่เข้าถึงอินเตอร์เน็ตได้ (+88% จากปีก่อน)  มีผู้ใช้ social media 14 ล้านคน (+84%) โดย 13 ล้านคน (+106%) ใช้ผ่านโทรศัพท์มือถือ

เวียดนาม : ประชากรรวม 94.6 ล้านคน  มีหมายเลขโทรศัพท์มือถือใช้งานอยู่ทั้งหมด 124.7 ล้านเลขหมาย (131% ของจำนวนประชากร) มีประมาณ 50 ล้านคน ที่เข้าถึงอินเตอร์เน็ตได้ (+6% เท่านั้นจากปีก่อน)  มีผู้ใช้ social media 46 ล้านคน (+31%) โดย 41 ล้านคน (+47%) ใช้ผ่านโทรศัพท์มือถือ

ความต่างของการใช้อินเตอร์เน็ตยังเห็นได้ชัดเจน

จะเห็นได้ว่า ทั้ง 3 ประเทศแม้จะมีอัตราการเจริญเติบโตของการใช้อินเตอร์เน็ตและการใช้ Social Media แต่พฤติกรรม การซื้อของออนไลน์ของประชากร กัมพูชา ลาวและพม่า นั้นยังอยู่ในระดับเริ่มต้นเท่านั้น สินค้าที่มีขายโดยมากจำกัดอยู่ในกลุ่มโทรศัพท์มือถือและอุปกรณ์ แฟชั่น ความงาม รูปแบบการขายมีเพียงการซื้อขายผ่านเว็บ การจ่ายเงินยังไม่สะดวกสบายเหมือนในประเทศไทย และการส่งสินค้าข้ามประเทศยังทำได้ยาก

ความโดดเด่นและก้าวหน้าของตลาดออนไลน์ของภูมิภาคนี้ที่แท้จริงนั้นอยู่ที่เวียดนาม ข้อมูลจากแหล่งเดียวกันรายงานว่า 98% ของประชากรวัยผู้ใหญ่ (Adult Population) มีโทรศัพท์มือถือ โดย 72% นั้นเป็น สมาร์ทโฟน และ 44% มีโน้ตบุ๊ค ซึ่งถือเป็นอัตราการครอบครองอุปกรณ์ที่เชื่อมต่อกับอินเตอร์เน็ตได้ สูงสุดของภูมิภาคนี้

นอกจากการมีอุปกรณ์ในการเชื่อมต่อเยอะแล้ว พฤติกรรมการซื้อของออนไลน์ของชาวเวียดนามยังน่าสนใจมากอีกด้วย จากรายงานล่าสุดเมื่อเดือนมกราคมปี 2017 ระบุว่า 35% ของชาวเวียดนามร่วมกันซื้อขายออนไลน์กว่า 33.26 ล้านครั้ง (มากกว่าไทย 2 เท่า) มูลค่ารวม 1.8 พันล้านเหรียญดอลลาร์สหรัฐ (น้อยกว่าไทย 1.4 เท่า) โดยมียอดซื้อขายเฉลี่ยต่อหัวที่ 55 เหรียญ (น้อยกว่าไทย 4 เท่า)

ตัวเลขดังกล่าวบอกทิศทาง การทำตลาดออนไลน์ได้ชัดเจนว่า ตลาดใหญ่ที่มีความพร้อมอยู่ที่เวียดนาม แต่กำลังการซื้อ หรือยอดซื้อต่อครั้งยังน้อยกว่าของไทยมาก จึงจำเป็นที่ผู้ประกอบการที่สนใจจะทำการตลาดออนไลน์ต้องพิจารณาเลือกสินค้าที่มีช่วงราคาที่เหมาะสม

โอกาสยังเปิดกว้างสำหรับสินค้าคุณภาพ

เมื่อสำรวจกลุ่มสินค้าหลักที่มีการขายผ่านช่องทางออนไลน์พบว่า สินค้ากว่า 80 % ที่มีเป็นสินค้าที่ผลิตในท้องถิ่นและสินค้านำเข้าจากจีน ซึ่งเป็นสินค้าคุณภาพปานกลางถึงคุณภาพต่ำ ในขณะที่สินค้าของไทยได้รับการยอมรับจากผู้บริโภคในภูมิภาค CLMV จึงเป็นโอกาสดีที่ผู้ประกอบการไทยจะขยายตลาดเข้าสู่ประเทศต่างๆ ซึ่งการขยายตลาดนั้นทำได้ง่าย เพราะผู้บริโภคคุ้นเคยกับภาษาและวัฒนธรรมไทย และรู้จักสินค้าไทยผ่านโฆษณาและรายการโทรทัศน์จากไทยอยู่แล้ว

นอกจากสินค้าอุปโภค บริโภคแล้วยังมีกลุ่มสินค้าดาวรุ่งอีกหลายรายการที่มีโอกาสเติบโตสูงในภูมิภาคนี้ ได้แก่ วัสดุก่อสร้าง อะไหล่และของตกแต่งมอเตอร์ไซค์ ของแต่งบ้าน เครื่องใช้ในครัวเรือน เครื่องใช้ไฟฟ้าราคาถูก อาหารเสริม เครื่องสำอาง สินค้าอุปโภค บริโภคชนิดขวด/ถุงเล็ก ขนมขบเคี้ยว อาหารกระป๋อง

ออนไลน์คือคำตอบ

แม้ว่าโอกาสการเข้าไปลงทุนใน CLMV จะเปิดกว้างสำหรับผู้ประกอบการไทยที่มีความได้เปรียบในด้านแบรนด์และคุณภาพของสินค้า แต่สิ่งที่ต้องระวังให้มากคือ วิธีการที่จะเข้าไปขายเพราะปัจจัยหลายอย่างยังต่างจากบ้านเรามาก เช่น ค่าเช่าในย่างกุ้งยังค่อนข้างแพง วิธีการค้าขายกับคนเวียดนามที่มีวิธีคิดแปลกๆให้เราคาดไม่ถึงเสมอ และเรื่องของกฎหมายคุ้มครอง ทั้งในด้านความปลอดภัยรวมถึงกรณีหากต้องมีการฟ้องร้อง ดังนั้น การเข้าไปทำเองทุกอย่างในพื้นที่ ๆ เราไม่คุ้นเคย จึงเป็นเรื่องค่อนข้างน่ากังวลใจไม่น้อย

แนวทางที่มีความเป็นไปได้ คือการหาคู่ค้าระยะยาว ทำการซื้อขายกันผ่านระบบออนไลน์ ผู้ประกอบการไทยรับหน้าที่ผลิตสินค้าและสร้างแบรนด์ให้ติดตลาด ในขณะที่คู่ค้ารับผิดชอบในส่วนการขายและกระจายสินค้า โดยการซื้อขายสินค้านั้นสามารถทำได้โดยผ่านช่องทางออนไลน์เพื่อความสะดวกและปลอดภัยของทั้งสองฝ่าย

อัพเดทเมื่อ 08/03/2561